สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 25-31 มกราคม 2562

 

ข้าว
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การตลาด
มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2561/62
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2561 เห็นชอบในหลักการมาตรการฯ ด้านการผลิตและการตลาด ทั้งหมด10 โครงการดังนี้
(1) ด้านการผลิต*ได้แก่
1) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบนาแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่)
2) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์
3) โครงการพัฒนาเกษตรกรปราดเปรื่อง
4) โครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแม่นยำสูง (Precision Farming)
5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ
6) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข 43 เพื่อสุขภาพแบบครบวงจร
7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง
หมายเหตุ * ด้านการผลิต เป็นโครงการที่หน่วยงานดำเนินการตามปกติ จึงไม่นำเข้าที่ประชุม ครม.พิจารณามาตรการฯ
(2) ด้านการตลาด
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24กรกฎาคม 2561 อนุมัติการดำเนินโครงการและวงเงินงบประมาณที่ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรและรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 ด้านการตลาด จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
1) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปีและการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว
2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร
3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก
- มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11กันยายน 2561 อนุมัติทบทวนมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าว ปีการผลิต 2561/62 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2561/61 ตามมติคณะกรรมการนบข. เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2561 ที่กระทรวงพาณิชย์เสนอดังนี้
(1) กรณีเกษตรกรฝากเก็บข้าวไว้ที่สหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกร ให้ปรับปรุงให้ค่าเก็บรักษาข้าวเปลือก
(2) เกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกหลักประกันไว้ในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บของตนเองเท่านั้น
(3) ปรับปรุงวิธีการเก็บรักษาข้าวเปลือกของสถาบันเกษตรกร ต้องเก็บรักษาข้าวเปลือกโดยบรรจุข้าวเปลือกในกระสอบป่านหรือถุง Big bag และวางเรียงในยุ้งฉางหรือสถานที่เก็บเพื่อสะดวกในการตรวจสอบ หรือเก็บข้าวในยุ้งฉางที่ยกพื้นสูงหรือไซโล (SILO) ยกเว้นกรณีเทกองจะต้องมีระบบการระบายอากาศ เพื่อการรักษาคุณภาพข้าวเปลือกไม่ให้เสื่อมสภาพตลอดระยะเวลาโครงการ
1.2 ราคา
1) ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิสัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 15,393 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,914 บาท บาท
 ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.21
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 7,687 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 7,633 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.70
2) ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,050 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,590 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
3) ราคาส่งออกเอฟโอบี
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ ไม่มีรายงานราคา
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 30.9825
 
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
          เวียดนาม
          ภาวะราคาข้าวขาว 5% เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับลดลงก่อนที่จะเข้าสู่เทศกาล Tet (the Lunar New Year Holiday) ช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ตันละ 340 ดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากตันละ 355-360 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อเทียบกับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยช่วงนี้ภาวะการค้าค่อนข้างซบเซาและจะยังคงเป็นเช่นนี้ไปจนถึงช่วงสิ้นสุดเทศกาล Tet หลังจากนั้น คาดว่าภาวะการค้าจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิตข้าวฤดูใหม่จะออก
สู่ตลาดปริมาณมาก
          ทางด้านวงการค้าข้าว ระบุว่า ขณะนี้รัฐบาลกำลังพิจารณาที่จะใช้มาตรการรับซื้อข้าวเพื่อเก็บสต็อกไว้ เป็นการพยุงราคาข้าวไม่ให้ลดต่ำลงมากกว่านี้ ซึ่งเมื่อปีที่ผ่านมา รัฐบาลไม่ได้มีการรับซื้อข้าว เพราะในช่วงเวลานั้นราคาข้าวในตลาดอยู่ในระดับสูงจึงไม่มีความจำเป็นที่รัฐบาลจะเข้ามาแทรกแซงตลาด
          สำนักงานสถิติแห่งชาติ (the General Statistics Office) คาดการณ์ว่า ในเดือนมกราคมนี้ เวียดนามจะส่งออกข้าวได้ประมาณ 400,000 ตัน มูลค่าประมาณ 180 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 18.5 และร้อยละ 24.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และลดลงจากเดือนธันวาคมที่ผ่านมาประมาณร้อยละ 16 และร้อยละ 21 ตามลำดับ
          ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
          มาเลเซีย
          กระทรวงเกษตร (The Malaysian Agriculture and Agro-based Industries Ministry) ตั้งเป้าในช่วง 3-4 ปี นับจากนี้ ประเทศต้องสามารถพึงพาผลผลิตข้าวในประเทศได้ ในระดับร้อยละ 75 จากปัจจุบันที่อัตราการพึ่งพาผลผลิตในประเทศอยู่ที่ประมาณร้อยละ 70 ทั้งนี้ ในปี 2561 ที่ผ่านมา มาเลเซียนำเข้าข้าวประมาณ 740,000 ตัน จากทุกประเทศ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 286.434 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยปัจจุบันนี้ มาเลเซียมีผลผลิตข้าวประมาณ 2 ล้านตัน และนำเข้าประมาณปีละ 1 ล้านตัน
          ช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์นี้ รัฐบาลมาเลเซียจะทบทวนนโยบายอาหารและเกษตรแห่งชาติหรือ National Agro-Food Policy (NAFP) ปี ค.ศ. 2011–2020 ทั้งฉบับ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของโครงการ The National Feed lot Corp (NFC) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรของมาเลเซีย (Datuk Salahuddin Ayub) กล่าวว่า รัฐบาลจะทบทวนนโยบายดังกล่าวบนหลักพื้นฐาน 5 ด้าน คือ (1) การพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารให้มีความทันสมัย (2) การเพิ่มผลผลิต (3) การส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชน (4) การขยายการส่งออก และ (5) การลดราคาอาหารโดยเฉพาะข้าวเปลือก เนื้อสัตว์ (ประเภทโค แพะ แกะ) และอาหารทะเล ตลอดจนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของโครงสร้างองค์กรหรือหน่วยงานที่อยู่ภายใต้กำกับของกระทรวงเกษตรฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนระบบบริหารและการดำเนินงาน
          มาเลเซียจะทบทวนรายละเอียดนโยบายในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562 โดยทิศทางใหม่และกลยุทธ์ของ NAFP
จะให้ความสำคัญกับ 3 ประเด็น ได้แก่ (1) ความปลอดภัยด้านอาหาร (2) การพัฒนาเศรษฐกิจในชนบท และ
(3) การสนับสนุนการลงทุนและการค้าของภาคเอกชน ซึ่งต่างจากเป้าหมายเดิมของ NAFP ภายใต้การบริหารงาน
ของรัฐบาลชุดก่อนที่มุ่งเน้นเฉพาะการสร้างความมั่นคงทางอาหารและความปลอดภัยของอาหาร การพัฒนา อุตสาหกรรมอาหารและเกษตรให้สามารถแข่งขันได้และมีความยั่งยืน รวมถึงยกระดับรายได้ผู้ประกอบการเกษตร
          ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
 
 


ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์

1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ 
ราคาข้าวโพดภายในประเทศในช่วงสัปดาห์นี้ มีดังนี้
ราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นไม่เกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.98 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 8.93 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.56 และราคาข้าวโพดที่เกษตรกรขายได้ความชื้นเกิน 14.5 % สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.16 บาท เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 6.91 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.62
ราคาข้าวโพดขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ ที่โรงงานอาหารสัตว์รับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ9.68 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.86 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.83 ส่วนราคาขายส่งไซโลรับซื้อสัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.92 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 9.22 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.25
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 321.40 ดอลลาร์สหรัฐ (10,037 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 324.60 ดอลลาร์สหรัฐ (10,235 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.99 และลดลงในรูปของเงินบาทตันละ 198 บาท
ราคาซื้อขายล่วงหน้าในตลาดชิคาโกเดือนมีนาคม 2562 ข้าวโพดเมล็ดเหลืองอเมริกันชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 378.92 เซนต์ (4,659 บาท/ตัน) เพิ่มขึ้นจากบุชเชลละ 377.56 เซนต์ (4,749 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.28 และเพิ่มขึ้นในรูปของเงินบาทตันละ 90 บาท


 


มันสำปะหลัง
 
 


ปาล์มน้ำมัน
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าปี 2562 ผลผลิตปาล์มน้ำมันเดือนมกราคมจะมีประมาณ 1.520  ล้านตันคิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.274 ล้านตัน สูงขึ้นจากผลผลิตปาล์มทะลาย 1.349 ล้านตัน คิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบ 0.243 ล้านตัน ของเดือนธันวาคม 2561 คิดเป็นร้อยละ 12.68 และร้อยละ 12.76 ตามลำดับ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาผลปาล์มทะลาย สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 2.39 บาท สูงขึ้นจาก กก.ละ 2.23 บาท ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 7.17
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบ สัปดาห์นี้เฉลี่ย กก.ละ 16.75 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาน้ำมันปาล์มดิบของมาเลเซียปรับตัวสูงขึ้น
ราคาน้ำมันปาล์มดิบซื้อขายล่วงหน้าตลาดมาเลเซียส่งมอบในเดือนเมษายน 2562 ปรับตัวสูงขึ้นอยู่ที่ 2,333 ริงกิตต่อตัน จากเดิมอยู่ที่ 2,327 ริงกิตต่อตัน (566.46 ดอลลาร์สหรัฐฯ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 โดยราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ 22 มกราคม 2562 ปริมาณอยู่ที่ 23,679 ตัน ราคาน้ำมันปาล์มดิบปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากความต้องการใช้
น้ำมันปาล์มของผู้นำเข้าเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลวันหยุด สำหรับผลผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นทางตะวันออกของมาเลเซียเป็นพื้นที่ที่มีการผลิตสูงสุดของรัฐซาบาห์และรัฐซาลาวัก อย่างไรก็ตาม คาดว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 2,351 ริงกิตต่อตัน ขณะเดียวกันราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันพืชถั่วเหลืองปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน
ราคาในตลาดต่างประเทศ   
ตลาดมาเลเซีย ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 2,201.30 ดอลลาร์มาเลเซีย  (17.09 บาท/กก.) สูงขึ้นจากตันละ 2,154.63 ดอลลาร์มาเลเซีย  (16.81 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.17   
ตลาดรอตเตอร์ดัม ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันปาล์มดิบสัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 528.50 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (16.73 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 540.63 ดอลลาร์สหรัฐฯ  (17.25 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 2.24
หมายเหตุ : ราคาในตลาดต่างประเทศเฉลี่ย 5 วัน
 


อ้อยและน้ำตาล 

1. สรุปภาวะการผลิต  การตลาดและราคาในประเทศ
รายงานการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ
          ศูนย์บริหารการผลิต สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้รายงานการเก็บเกี่ยวอ้อยและการผลิตน้ำตาลทรายตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 จนถึงวันที่ 15 มกราคม 2562 ว่ามีอ้อยเก็บเกี่ยวเข้าโรงงานน้ำตาลไปแล้วจำนวน 45,171,578 ตัน ผลิตเป็นน้ำตาลได้ 4,440,657 ตัน แยกเป็นน้ำตาลทรายดิบ 3,586,738 ตัน และน้ำตาลทรายขาว 853,919 ตัน ค่าความหวานของอ้อยเฉลี่ย 11.60 ซี.ซี.เอส. ผลผลิต   น้ำตาลทรายเฉลี่ยต่อตันอ้อย 98.31 กก.ต่อตันอ้อย

2. สรุปภาวการณ์ผลิตการตลาดและราคาในต่างประเทศ

 


 

 
ถั่วเหลือง
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วเหลืองชนิดคละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.01 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งถั่วเหลืองสกัดน้ำมัน สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
 
2. ภาวะการผลิต การตลาด และราคาในตลาดต่างประเทศ
ราคาในตลาดต่างประเทศ(ตลาดชิคาโก)
ราคาซื้อขายล่วงหน้าเมล็ดถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยบุชเชลละ 920.72 เซนต์ (10.71 บาท/กก.) สูงขึ้นจากบุชเชลละ 914.20 เซนต์ (10.72 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.71
ราคาซื้อขายล่วงหน้ากากถั่วเหลือง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 311.80 ดอลลาร์สหรัฐฯ (9.87 บาท/กก.) ลดลงจากตันละ 313.33 ดอลลาร์สหรัฐฯ (10.00 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 0.49
ราคาซื้อขายล่วงหน้าน้ำมันถั่วเหลืองสัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 30.21 เซนต์ (21.08 บาท/กก.) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 29.24 เซนต์ (20.56 บาท/กก.) ในสัปดาห์ที่ผ่านมาร้อยละ 3.32
 

 

 
ยางพารา
 
 
 

 
สับปะรด
 


 

 
ถั่วเขียว
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดใหญ่คละ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.11 บาท ลดลงจากราคากิโลกรัมละ 22.17 บาท
ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.27
ถั่วเขียวผิวมันเมล็ดเล็กคละ และถั่วเขียวผิวดำคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 16.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี        
ถั่วเขียวผิวมันเกรดเอ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 862.80 ดอลลาร์สหรัฐ (26.94 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 856.40 ดอลลาร์สหรัฐ (26.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.75 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวมันเกรดบี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 766.60 ดอลลาร์สหรัฐ (23.94 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 760.40 ดอลลาร์สหรัฐ (23.94 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.82 แต่ในรูปเงินบาททรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 862.80 ดอลลาร์สหรัฐ (26.94 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 856.40 ดอลลาร์สหรัฐ (26.96 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.75 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท
ถั่วเขียวผิวดำ ชั้น 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 508.80 ดอลลาร์สหรัฐ (15.89 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 505.00 ดอลลาร์สหรัฐ (15.90 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.75 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.01 บาท
ถั่วนิ้วนางแดง สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 920.80 ดอลลาร์สหรัฐ (28.75 บาท/กิโลกรัม) สูงขึ้นจากตันละ 913.80 ดอลลาร์สหรัฐ (28.77 บาท/กิโลกรัม) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.77 แต่ลดลงในรูปเงินบาทกิโลกรัมละ 0.02 บาท


 

 
ถั่วลิสง
 
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ความเคลื่อนไหวของราคาประจำสัปดาห์ มีดังนี้ 
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกแห้ง สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.50 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 60.20 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.82
ราคาถั่วลิสงทั้งเปลือกสด สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.27 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 22.27 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อย 4.31 
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดพิเศษ สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 60.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาถั่วลิสงกะเทาะเปลือกชนิดคัดธรรมดา สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน

 

 
ฝ้าย
 
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาภายในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้
ราคาฝ้ายรวมเมล็ดชนิดคละ สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้าตลาดนิวยอร์ก (New York Cotton Futures)
ราคาซื้อ-ขายล่วงหน้า เพื่อส่งมอบเดือนมีนาคม 2562 สัปดาห์นี้เฉลี่ยปอนด์ละ 74.23 เซนต์(กิโลกรัมละ 51.81 บาท) สูงขึ้นจากปอนด์ละ 73.59 เซนต์ (กิโลกรัมละ 51.75 บาท) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.87และสูงขึ้นในรูปของเงินบาทกิโลกรัมละ 0.06 บาท

 
 

 
ไหม
 
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 1 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,626 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,582 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา  ร้อยละ 0.06
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 2 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 1,392 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 1,259 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา   ร้อยละ 10.56
ราคาเส้นไหมพื้นเมืองเกรด 3 สัปดาห์นี้เฉลี่ยกิโลกรัมละ  842 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
 
 

 
ปศุสัตว์
 
สุกร
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ  
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรมีมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้โน้มสูงขึ้นเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาและความต้องการบริโภคจะสูงขึ้นเล็กน้อย เพราะเข้าสู่เทศกาลวันตรุษจีน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ  65.32 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 65.20 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.18 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 65.13 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 62.19 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 66.01 บาท  และภาคใต้ กิโลกรัมละ 67.92 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้  ตัวละ 2,100 บาท (บวกลบ 70 บาท)  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา    
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 73.50  บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา


 
ไก่เนื้อ
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ
สถานการณ์ตลาดไก่เนื้อสัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา  เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภค   แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาและความต้องการบริโภคจะสูงขึ้นเล็กน้อย เพราะเข้าสู่เทศกาลวันตรุษจีน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 35.97 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 35.99 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.06   โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท  ภาคกลาง กิโลกรัมละ 35.72 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 39.63 บาท  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 10.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ  32.50 บาท  และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 44.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

 
ไข่ไก่
สถานการณ์การผลิต การค้า และราคาในประเทศ   
ภาวะตลาดไข่ไก่สัปดาห์นี้ ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา  ทั้งนี้จากการประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ (Egg Board) โดยกระทรวงเกษตรฯ และทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี โดยปัจจุบันมีแม่ไก่ไข่ยืนกรงอยู่ที่ประมาณ 50 ล้านตัว ซึ่งจะมีการผลิตไข่ไก่ที่ประมาณ 80% หรือประมาณ 40 ล้านฟองต่อวัน  ทั้งนี้เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน  ส่งผลให้ราคาไข่ไก่ในประเทศมีเสถียรภาพมากขึ้น  แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาและความต้องการบริโภคจะสูงขึ้นเล็กน้อย เพราะจะมีปลดแม่ไก่ไข่เร็วขึ้นเพื่อรองรับไก่ไหว้ในเทศกาลวันตรุษจีน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 277 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา   โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 295 บาท  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 280 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 271 บาท  และภาคใต้ไม่มีรายงาน  ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 15.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 291 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
   
 

ไข่เป็ด

ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ  321 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 327 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.83 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 343 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 331 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 290 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 350 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 340 บาท  ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา  

 
โคเนื้อ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ  
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 88.64 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 88.16 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.54  โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.99 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 84.34 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 86.50 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 101.01 บาท

 
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 70.26 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 69.98 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.40 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.72 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 65.98 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา

 
 


 
ประมง

1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศการผลิต
เปลี่ยนถ่ายกระชังลูกใหม่หรือเพิ่มออกซิเจนในน้ำนช่วงดังกล่าวเป็นช่วงที่น้ำตาย โดยเฉพาะในช่วงกลางคืนบวกกับออกซิเจนในน้ำค่อนในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (ระหว่างวันที่ 25 – 31 มกราคม 2562) ไม่มีรายงานปริมาณจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย (ขนาด 3-4 ตัว/กก.)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 41.75 บาท ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 45.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.25 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.2 ปลาช่อน (ขนาดกลาง)
ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 87.99 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 86.34 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.65 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ ขนาด 60 ตัวต่อกิโลกรัม และราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาคร ขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 172.48 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 166.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 6.18 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดทะเลไทย จ.สมุทรสาคร ขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม เฉลี่ยกิโลกรัมละ 174.17 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 170.83 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.34 บาท
 2.5 ปลาทู (ขนาดกลาง) ราคาปลาทูสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 78.58 บาท  ราคาลดลงจากกิโลกรัมละ 83.94 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 5.36 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 85.00 บาท           ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.6 ปลาหมึกกระดอง (ขนาดกลาง) ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 167.00 บาท ราคาสูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 134.00 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 33.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 200.00 บาท  ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 8.30 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 25 – 31 มกราคม 2562) ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา